Pages - Menu

เกี่ยวกับธนาคาร



ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (อังกฤษBank of Ayudhya Public Company Limited ชื่อย่อ: BAY)[4] เป็นธนาคารของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2488 มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นอาณาจักรเก่าในประเทศไทย เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท ต่อจากนั้นได้ก่อตั้งสำนักงานในกรุงเทพมหานคร ณ ถนนราชวงศ์ และย้ายสำนักงานใหญ่มาตั้งอยู่ที่ ถนนอนุวงศ์ และ ถนนลำพูนไชย ในปี พ.ศ. 2491 และ พ.ศ. 2493 ตามลำดับ
วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ธนาคารได้รับตราครุฑ มาประดิษฐาน ณ ธนาคาร ในปีเดียวกันได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ ถนนเพลินจิต ในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ธนาคารได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2536 ธนาคารได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน
ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2539 ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ ถนนพระราม 3 เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมพ.ศ. 2540 และใช้สำนักงานที่ถนนพระราม 3 มาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2550 จีอี แคปปิตอล ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเพื่อรายย่อยชั้นนำของโลกได้บรรลุข้อตกลงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยปัจจุบัน จีอี แคปปิตอล และกลุ่มรัตนรักษ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารในสัดส่วนร้อยละ 33 และร้อยละ 25 ตามลำดับ
ในเดือนกันยายน 2555 กลุ่มจีอีประกาศขายหุ้นที่ถืออยู่ในกรุงศรีร้อยละ 7.60 โดยเป็นการขายในตลาดหลักทรัพย์แบบเจาะจง ส่งผลให้กลุ่มจีอี แคปปิตอลมีสัดส่วนการถือหุ้นเหลือร้อยละ 25.33
วันที่ 18 ธันวาคม 2556 ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด (The Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ, Ltd:BTMU) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่มีผู้ถือหุ้น 100% คือกลุ่มมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (Mitsubishi UFJFinancial Group:MUFG) กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและเป็นหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สุดในโลก ได้เป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับกลุ่มรัตนรักษ์แทนที่กลุ่มจีอี




เหตุการณ์สำคัญ


  • เมื่อ 3 มกราคม 2550 จีอี มันนี่ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเพื่อรายย่อยชั้นนำของโลกได้บรรลุข้อตกลงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารกรุงศรีอยุธยาซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจและความเชื่อมั่นในธนาคารฯ โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับการผสานความสามารถทางธุรกิจของสององค์กร เพื่อให้ธนาคารฯเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจรชั้นนำของประเทศไทย

  • 14 กุมภาพันธ์ 2551 ธนาคารฯเข้าซื้อกิจการบริษัท จีอี แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) (GECAL) เสร็จสมบูรณ์ โดย ณ วันโอนกิจการ GECAL มีสินทรัพย์รวม 78,010 ล้านบาท และเงินให้สินเชื่อสุทธิรวม 75,283 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้พอร์ตสินเชื่อของธนาคารฯเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 17 ณ วันโอนกิจการ และต่อมา GECAL เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) (AYCAL)

  • 8 เมษายน 2552 ธนาคารฯดำเนินการเข้าซื้อหุ้นธนาคาร เอไอจี เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) (AIGRB) และ บริษัท เอไอจี คาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (AIGCC) เสร็จสมบูรณ์ ในราคารวม 1,605 ล้านบาท โดยทำให้ธนาคารฯมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นประมาณ 32,800 ล้านบาท มีฐานสินเชื่อเพิ่มขึ้น 21,900 ล้านบาท เงินฝากเพิ่มขึ้น 18,600 ล้านบาท และมีจำนวนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นประมาณ 222,000 บัตร
     
  • 9 กันยายน 2552 ธนาคารฯ เข้าซื้อกิจการบริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิสเซส จำกัด (CFGS) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ จำกัด เสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ CFGS เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการไมโครไฟแนนซ์โดยเฉพาะสินเชื่อที่ใช้ทะเบียนรถเป็นหลักประกัน มีเครือข่ายสาขากว่า 163 แห่งทั่วประเทศ และเป็นที่รู้จักกันดีในนาม "ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ"

     
  • 5 พฤศจิกายน 2552 ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเข้าซื้อธุรกิจการเงินเพื่อผู้บริโภคของจีอี แคปปิตอล ในประเทศไทย เสร็จสมบูรณ์ การเข้าซื้อครั้งนี้ทำให้ธุรกิจการเงินเพื่อลูกค้ารายย่อยของธนาคารกรุงศรีอยุธยาเติบโตเร็วขึ้น และทำให้สัดส่วนสินเชื่อรายย่อยของธนาคารเพิ่มขึ้นจาก 36% เป็น 42% ของสินเชื่อรวม และจะส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของธนาคารเพิ่มขึ้น ด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และความหลากหลายยิ่งขึ้นในบริการหลักของธุรกิจการเงินเพื่อลูกค้ารายย่อยของธนาคาร การผนวกธุรกิจของจีอี มันนี่ ประเทศไทย เข้ากับธนาคาร ทำให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยากลายเป็นผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยจำนวนบัตรหมุนเวียนในระบบมากกว่า 3 ล้านใบ และให้บริการลูกค้ากว่า 8 ล้านราย
     
  • 25 มกราคม 2555 คณะกรรมการธนาคารมีมติอนุมัติเห็นชอบให้ธนาคารฯ ดำเนินการรับโอนธุรกิจลูกค้ารายย่อยในประเทศไทยของ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด ("HSBC") ซึ่งประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ธุรกิจสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเงินฝากส่วนบุคคลและตั๋วแลกเงิน
  • 18 ธันวาคม 2556 MUFG เป็นพัธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารกรุงศรีอยุธยาแทนจีอี

ขอบข่ายการบริการ

  • สำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำนวน 81 บูธ
  • เครื่องเอทีเอ็ม จำนวน 4,779 เครื่อง
  • ศูนย์ธุรกิจกรุงศรี จำนวน 55 แห่ง
  • ศูนย์บริการและพื้นที่บริการ Exclusive Banking จำนวน 19 แห่ง
  • ศูนย์บริการกรุงศรีเฟิร์สช๊อยส์ 53 สาขา + 12,749 ตัวแทนจำหน่าย
  • กรุงศรี ออโต้ 43 สาขา + 6,300 ผู้จำหน่ายรถยนต์
  • สาขาซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด 295 แห่ง

จำนวนสาขาธนาคารกรุุงศรีอยุธยา


สาขาในประเทศ


  • เขตกรุงเทพและปริมลฑล  272  สาขา 

  • ส่วนภูมิภาค  338  สาขา
  •  

  • รวมสาขาในประเทศ 610 สาขา


  • สาขาต่างประเทศ

    Vientiane                  1 สาขา
    Hongkong                 1 สาขา
    Savannakhet            1 สาขา
    Cayman Islands       1 สาขา
    รวมสาขาต่างประเทศ    4 สาขา

  • จำนวนพนักงาน
  •             19,471 คน (รวมทั้งเครือ)    




    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น